วิเคราะห์ภาพรวมตลาดคริปโตด้วย ทฤษฎี Elliott Wave

By Digital Trader • Publish in Trading Guide • Jul 07,2021 • 3 min read

วิเคราะห์ภาพรวมตลาดคริปโตด้วย ทฤษฎี Elliott Wave

ในโลกของการเทรดคริปโตนั้นมีวิธีการ และเทคนิคมากมายที่นักเทรดคริปโตสามารถใช้ในการทำกำไร ซึ่งเเต่ละเทคนิคมีความเหมาะสมที่เเตกต่างกัน บางเทคนิคเหมาะกับการเทรดในระยะสั้น และบางเทคนิคเหมาะกับการเทรดในระยะยาว

ซึ่งจากการวิเคราะห์นั้นยังมีเทคนิคที่มีความน่าสนใจมากสำหรับใช้เทรดคริปโต คือ ทฤษฎี Elliott Wave ซึ่งเป็นวิธีที่บรรดาเทรดเดอร์ใทั้งหลายให้การยอมรับ และยังเป็นที่รู้จักในตลาดอื่นๆ อีกด้วย

ทฤษฎี Elliott Wave เป็นการสังเกตพฤติกรรมของผู้คนในตลาดจากกราฟเเท่งเทียนในภาพกว้าง จนบรรดานักลงทุนนำมาวิเคราะห์ และสรุปออกมาเป็นเทคนิคในการเทรดระยะยาวที่ทำให้เข้าใจภาพรวมของตลาด โดยในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจวิธีการมองตลาด เเละการเทรดคริปโตโดยใช้ทฤษฎี Elliott Wave

ทฤษฎี Elliott Wave คืออะไร ?

ทฤษฎี Elliott Wave คือ เทคนิคการสังเกตกราฟที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่น คิดค้นโดยเนลสัน อีเลียตในปี ค.ศ.1930 กล่าวถึงพฤติกรรมการซื้อขายของคนหมู่มากจนทำให้เกิดเทรนด์ และรูปแบบที่เกิดขึ้นในตลาดการเงินต่างๆ โดยทฤษฏีเหล่านี้ไม่เพียงแต่ปรากฏในตลาดคริปโตเท่านั้น แต่เกิดในทุกที่ที่มนุษย์มีการตัดสินใจลักษณะเป็นกลุ่ม

การใช้ทฤษฎี Elliott Wave ในการเทรดคริปโต

คลื่น Elliott Wave จะมีลักษณะเป็น 5 คลื่นใหญ่ๆ เเบ่งเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้

1.คลื่นกระตุ้น เป็นคลื่นขาขึ้นจะใช้ตัวเลขในการนับ 1-5

2.คลื่นพักตัว เป็นคลื่นขาลงจะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษในการนับ A B C

Img

จากรูป Elliot Wave นั้นจะมีการนับคลื่นโดยโครงสร้างของคลื่นจะต้องมีลักษณะดังนี้ การพักตัวของกราฟในคลื่นที่ 2 จะต้องไม่ต่ำกว่าคลื่นที่ 1 จุดยอดของคลื่นที่ 3 จะต้องสูงกว่าจุดยอดของคลื่นที่ 1 และการพักฐานของคลื่น 4 นั้นจะต้องไม่ต่ำกว่าจุดยอดของคลื่น 1 หากกราฟเกิดรูปแบบลักษณะนี้จะนับเป็น Elliot Wave มีความสมบูรณ์ที่สุด เเละการเคลื่อนไหวของกราฟจะเคลื่อนตัวเเบบนี้ซ้ำไปซ้ำมา เทรดเดอร์มืออาชีพหลายท่านจึงได้มีการประยุกต์ใช้ทฤษฏี Elliot Wave ในการเทรดคริปโต

การนำทฤษฎี Elliot Wave มาประยุกต์ใช้ในการเทรดคริปโต โดยมักจะนำทฤษฎี Elliot Wave มาใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ MACD และ Fibonacci โดยจุดเข้าซื้อมักจะเกิดขึ้นในคลื่นที่ 2 และ คลื่นที่ 4 เมื่อเส้น Fast Moving Average และ เส้น Slow Moving Average ใน MACD เริ่มมีการตัดกันขึ้น และหลังจากที่ราคาเกิดการปรับตัวลงมาที่โซนแนวรับ Fibonacci เนื่องจากเป็นการบ่งบอกถึงจุดกลับตัวที่จะเกิดขึ้นก่อนที่ราคาจะเกิดคลื่นที่ 3 และ คลื่นที่ 5 ซึ่งเป็นคลื่นขาขึ้นขนาดใหญ่ก่อนที่ราคาจะเกิดการพักตัวลงเป็นคลื่นพักตัว

ข้อควรระวังของทฤษฎี Elliott Wave

การเทรดคริปโตโดยใช้ทฤษฎี Elliott Wave นั้นสามารถช่วยให้เรามองหาจุดเข้าซื้อที่ได้เปรียบ เเละสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาลหากมีความชำนาญ ซึ่งจะทำให้เราเข้าซื้อได้ถูกจุดในช่วงต้นของคลื่นขาขึ้น หรือเทรนด์ขาขึ้น เเต่อย่างไรก็ตามทฤษฎี Elliott Wave ก็เป็นหนึ่งในทฤษฏีที่มีความซับซ้อนสูง ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และทำความเข้าใจค่อนข้างนาน เนื่องจากทฤษฎี Elliott Wave เป็นการมองกราฟในภาพใหญ่มีจุดเข้าซื้อขายค่อนข้างหลากหลาย ทำให้ต้องใช้เทคนิคส่วนตัวในการพิจารณาร่วมด้วย ซึ่งมักทำให้เกิดความสับสนกับเทรดเดอร์มือใหม่ไม่น้อย

การเทรดคริปโตโดยใช้ทฤษฎี Elliott Wave นับเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่เทรดเดอร์มือใหม่ควรจะศึกษา เพราะจะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาในภาพใหญ่มากยิ่งขึ้น ซึ่งเหมาะกับนักลงทุนที่ชอบเทรดในระยะยาวเพราะสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล เเต่ก็ต้องเเลกมาด้วยความอุสาหะในการเรียนรู้ และใช้เวลา เนื่องจากทฤษฏี Elliott Wave มีความซับซ้อน และมีจุดเข้าซื้อที่หลายหลาย ทำให้เทรดเดอร์มืออาชีพหลายคนมักจะมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งทำให้มือใหม่ใช้เวลาศึกษาค่อนข้างนาน เเต่หากศึกษาจนเกิดความชำนาญแล้วนั้นผลตอบเเทนก็คุ้มค่าอย่างเเน่นอน

Digital Trader

Content Creator

Digital Trader ผมวิเคราะห์ตามหลักสถิติประยุกต์ หลักการของแท่งเทียน และประสบการณ์ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา

Relate Post

Risk/Reward Ratio เทคนิคการคำนวณกำไรในตลาดคริปโต
Trading Guide

Risk/Reward Ratio เทคนิคการคำนวณกำไรในตลาดคริปโต

การคำนวณความเสี่ยงถือเป็นสิ่งที่สำคัญในการเทรดคริปโต สำหรับหลายๆ ท่านที่เทรดคริปโตเเล้วยังไม่ได้กำไรนั้น สาเหตุบางส่วนอาจจะเกิดจากการที่ยังไม่ได้คำนวณความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการเทรด เพราะถ้าหากเราคำนวนความเสี่ยงจะทำให้เรารู้จุดเข้าออกในเเต่ละครั้งที่เทรดจะช่วยให้เราสามารถเข้าเทรดในจุดที่ได้เปรียบในการเทรดคริปโตได้อย่างดี เเละในบทความนี้เราจะไปทำความรู้จักการใช้ Risk/Reward Ratio ในการเทรดคริปโต

Digital Trader

Jul 02,2021

4 min